Picture of the author
autobacsautobacs
autobacs

ยางรถยนต์สึกหรอ ยางกินขอบในและนอก แก้ไขได้อย่างไร


วันที่เผยแพร่: 9 ส.ค. 2567

แชร์ไปยัง

ยางรถยนต์สึกหรอ ยางกินขอบในและนอก เกิดจากอะไร แก้ไขได้อย่างไร

Key Takeaway

  • ยางกินขอบในและนอก เกิดจากปัญหาของการเสื่อมสภาพตัวยางในบริเวณต่างๆ ซึ่งยางกินขอบในดอกยางจะสึกมากกว่าด้านนอกอย่างเห็นได้ชัด และยางรถกินด้านนอกจะมีลักษณะดอกยางขอบนอกจะสึกมากกว่าด้านใน 

  • สาเหตุที่ทำให้ยางกินขอบในและนอก คือการตั้งศูนย์ล้อไม่ตรง สไตล์การขับขี่ และการเติมลมยางอ่อนเกินไป

  • ปัญหารถกินยางด้านในและนอกก็มีวิธีแก้ไขโดยการสลับยาง เช็กแรงลมที่เหมาะสมกับรถและเติมลมยาง ปรับแต่งศูนย์ล้อใหม่ โดยช่างผู้เชี่ยวชาญ

  • หากไม่แก้ไขยางกินขอบในและนอก จะทำให้รถยนต์เกิดอุบัติเหตุ เสียหลักพลิกคว่ำเนื่องจากเนื้อยางหมดลงไปจากการกินของขอบยางที่เสื่อมสภาพไม่เท่ากัน

  • นำรถไปเข้าศูนย์ดูแลรถยนต์มืออาชีพอย่าง Autobacs เพื่อปรับศูนย์ล้อใหม่ และตรวจเช็กปัญหาอื่นๆ ที่อาจจะไม่ได้สังเกตมาก่อนหน้านี้ได้อย่างมั่นใจ



ยางรถยนต์เป็นหัวใจสำคัญในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพเต็มสมรรถนะยานยนต์มากที่สุด ดังนั้น หากยางสึกหรอ ยางกินขอบนอกและใน หรือปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเสื่อมสภาพของตัวยาง ก็จะส่งผลต่อการขับขี่อย่างมาก รวมถึงสร้างความเสียหายไปยังระบบอื่นๆ ของตัวรถยนต์ได้ง่ายมากเช่นกัน เพราะฉะนั้นผู้ใช้รถจึงต้องสังเกตสภาพยางรถเป็นประจำ และหาวิธีแก้ไขในทันที 

ลักษณะของยางกินขอบในและนอก เป็นอย่างไร

ลักษณะของยางกินขอบในและนอก จะมาจากปัญหาของการเสื่อมสภาพตัวยางในบริเวณต่างๆ ไม่เท่ากัน มีการใช้งานแล้วเกิดความเสียหายไม่สม่ำเสมอ กระจายแรงการใช้งานของยางรถยนต์ไม่ทั่วถึง จึงทำให้เกิดปัญหายางกินขอบในอยู่บ่อยๆ ซึ่งลักษณะของยางกินขอบในและนอกนี้ สามารถตรวจสอบจุดแตกต่างกันได้  ดังนี้

ยางกินขอบใน 

ด้านในของดอกยางจะสึกมากกว่าด้านนอกอย่างเห็นได้ชัด และจะสึกหรอเร็วกว่าปกติเมื่อเทียบกับส่วนอื่นของยาง ในกรณีที่รุนแรง อาจเห็นเส้นลวดโครงยางด้านใน เมื่อมองจากด้านหน้าหรือด้านหลัง ยางอาจดูเอียงเข้าด้านใน และดอกยางด้านในจะดูแบนกว่าด้านนอก อีกทั้งร่องดอกยางด้านในจะตื้นกว่าด้านนอกอย่างชัดเจน

ยางกินขอบนอก 

ยางรถกินด้านนอกจะมีลักษณะดอกยางสึกหรอไม่สม่ำเสมอ โดยด้านนอกของดอกยางจะสึกมากกว่าด้านใน และขอบยางด้านนอกสุดจะสึกเร็วกว่าปกติ จนทำให้ยางบางลง หรืออาจเห็นเส้นลวดโครงยางด้านนอกโผล่ออกมา อีกทั้งเมื่อมองจากด้านหน้า หรือด้านหลังของรถ จะเห็นว่าส่วนที่สัมผัสพื้นของยางด้านนอกแบนราบกว่าปกติ 

ลักษณะเหล่านี้บ่งชี้ถึงปัญหาที่ควรได้รับการตรวจสอบและแก้ไข เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่และเพื่อยืดอายุการใช้งานของยางรถยนต์

3 สาเหตุที่ทำให้ยางกินขอบในและนอก

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของยางกินขอบนอก หรือปัญหายางกินขอบในก็ตาม ทุกส่วนความเสียหายของตัวยางสามารถส่งผลไปยังขอบนอกหรือในก็ได้ตลอดเวลา และยังมีสาเหตุหลักๆ ของปัญหานี้ที่เหมือนกันอีกด้วย ดังนี้

1. ตั้งศูนย์ล้อไม่ตรง

การตั้งศูนย์ล้อรถยนต์จะแบ่งเป็น 3 มุมหลักๆ ด้วยกัน คือ มุมแคมเบอร์ (Camber) มุมโท (Toe) และมุมแคสเตอร์ (Caster) ซึ่งเป็นการปรับสมดุลศูนย์ล้อ เพื่อให้การใช้งานรถยนต์เต็มประสิทธิภาพ สามารถกระจายแรงการขับเคลื่อน และแรงการเสื่อมสภาพจากการใช้งานไปทั่วตัวยางทั้งหมดได้ แต่เมื่อไรที่การปรับตั้งศูนย์ล้อไม่ตรง มีการเอียงไปทางใดทางหนึ่งมากกว่า แม้ว่าจะเป็นการปรับที่เอียงแค่เล็กน้อยก็ตาม เมื่อมีการใช้งานต่อเนื่องจะส่งผลให้ความเสื่อมสภาพของตัวยางไม่เท่ากัน มีฝั่งหนึ่งที่เสียหายหนักมากกว่าจนทำให้เกิดเป็นปัญหารถกินยางด้านในและรถกินยางด้านนอกอยู่เป็นประจำ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่หลายๆ คน มักจะละเลยไป

2. สไตล์การขับขี่

การขับขี่ด้วยความเร็วสูงๆ และมีการเข้าโค้งที่หนัก ไม่ชะลอเข้าโค้ง หรือชอบสาดโค้งบ่อยๆ ในการเดินทางปกติ เป็นสาเหตุหลักของการเสื่อมสภาพตัวยางฝั่งใดฝั่งหนึ่งเยอะมากกว่า จนทำให้เกิดเป็นปัญหายางกินขอบในและนอกได้ง่ายมาก จากนิสัยการขับขี่ที่โลดโผนแบบนี้

3. ลมยางอ่อนเกินไป

การเติมลมอ่อนเกินไป จะทำให้ยางมีโอกาสกินหน้ายางสูงขึ้น ส่งผลให้ยางกินขอบในไปด้วยเพราะเมื่อลมยางอ่อน แล้วมีการใช้งานรถยนต์อย่างหนัก หรือใช้งานตามปกติไปเรื่อยๆ จะส่งผลทำให้ระบบโช้คอัพ และแคมเบอร์ ที่ต้องรับแรงกระแทกมากขึ้น และมีแรงเสียดทานแบบฝืนๆ อยู่ตลอดเวลา จึงส่งผลให้เกิดปัญหาของยางกินขอบในและนอกได้ง่ายมาก พร้อมกับสร้างความเสียหายอื่นๆ แก่ตัวยางรถยนต์อีกด้วย 

ยางกินขอบในและนอก แก้ไขได้อย่างไร

ปัญหาของยางกินขอบในและนอก มีสาเหตุการเกิดที่มาจากความเสื่อมสภาพของตัวยางที่ไม่เท่ากัน จึงเกิดความเสียหายนี้ขึ้นมาได้ง่ายมากทั้งขอบในและขอบนอก ซึ่งปัญหารถกินยางด้านในและนอกก็มีวิธีแก้ไขได้โดยตรง ดังนี้ 

การสลับยาง

การสลับยางเป็นหนึ่งในวิธีการยืดอายุของยางรถยนต์ระหว่างการใช้งานอยู่ได้เยอะมาก เพราะจะเป็นการบังคับกระจายความสึกหรอของการใช้งานรถยนต์โดยตรง เช่น

  • การสลับยางล้อซ้ายหน้าไปอยู่ซ้ายหลัง 

  • การสลับยางขวาหน้าไปอยู่ขวาหลัง 

  • การสลับยางขวาหลังมาอยู่ซ้ายหน้า

  • การสลับยางซ้ายหลังมาอยู่ขวา 

เมื่อสลับแล้ว ให้ตั้งศูนย์ล้อให้ตรงพร้อมใช้งานทันที โดยระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสลับยางนี้อยู่ที่ประมาณ 6 เดือนต่อครั้งก็จะยืดอายุการใช้งานยางรถยนต์ได้เยอะมากขึ้น เสื่อมสภาพได้ช้าลงอย่างแน่นอน และไม่ก่อให้เกิดปัญหายางกินขอบในและนอกอีกด้วย

เช็กแรงลมที่เหมาะสมกับรถและเติมลมยาง

การตรวจเช็กแรงลมที่เหมาะสมกับรถและเติมลมยาง จะแก้ไขยางกินขอบในและนอกได้อย่างมากเพราะถ้าหากเราเติมลมยางในค่ามาตรฐาน ตัวยางจะสัมผัสพื้นถนนได้อย่างเต็มที่ ทำให้ยางมีส่วนช่วยขับเคลื่อนกระจายแรงการซับน้ำหนัก พร้อมช่วยรับแรงกระแทกกันอย่างเต็มสัดส่วนพื้นที่ของหน้ายางโดยตรง ไม่ควรทิ้งให้บริเวณฝั่งใดฝั่งหนึ่งของตัวยางรถยนต์ต้องทำงานหนักมากเกินไป อีกทั้งยังเป็นการลดการสึกหรอของระบบช่วงล่าง และยืดอายุการใช้งานของอะไหล่ด้วยเช่นกัน ส่วนอัตราการเติมแรงลมที่เหมาะสมกับรถแต่ละชนิดตามการใช้งาน มีดังนี้

  • รถยนต์ขนาดเล็ก อัตราการเติมแรงลม คือ 25 – 30 psi

  • รถยนต์ขนาดกลาง หรือรถเก๋งทั่วไป อัตราการเติมแรงลม คือ 30 – 35 psi

  • รถกระบะ และรถประเภท SUV อัตราการเติมแรงลม คือ 30 – 40 psi

  • รถบรรทุกประเภท รถกระบะ รถปิกอัพขนย้าย อัตราแรงลมไม่ควรเกิน 65 psi

  • รถตู้ อัตราการเติมแรงลมคือ 43 – 55 psi

หากใครที่เจอปัญหาระหว่างทางเรื่องลมยางอ่อน หรือต้องการตรวจเช็กลมยาง แนะนำให้เลือกศูนย์บริการของทาง Autobacs มีบริการเติมลมยางไนโตรเจน ที่จะช่วยให้แรงลมยางอยู่ได้นานมากกว่าปกติ วิ่งรถได้ยาวมากขึ้น แถมยังสามารถขับรถเดินทางไกลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่า ลดอัตราความเสื่อมสภาพและการสึกหรอจากปัญหาลมยางอ่อนบ่อยได้เยอะขึ้น แนะนำศูนย์บริการที่นี่ที่เดียวครบวงจร ให้บริการโดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

ปรับแต่งศูนย์ล้อใหม่ โดยช่างผู้เชี่ยวชาญ

หนึ่งในข้อสำคัญของการป้องกันปัญหายางกินขอบในและนอก คือการตั้งศูนย์ล้อให้เป็นแนวตรงทุกส่วนของช่วงยางรถยนต์ และควรดำเนินการปรับศูนย์ล้อโดยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะหากศูนย์ล้อมีการเอียงแค่เล็กน้อย ถึงแม้ว่าจะไม่ส่งผลต่อการขับขี่โดยตรง แต่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพจากตัวยางรถยนต์อย่างรวดเร็วแน่นอน ส่วนมุมของการปรับแต่งศูนย์ล้อหลักๆ ของยางรถยนต์ มีส่วนสำคัญดังนี้

มุมแคมเบอร์ (Camber)

มุมแคมเมอร์ (Camber) คือมุมเอียงของล้อในแนวดิ่ง ช่วยเพิ่มการยึดเกาะถนนขณะเข้าโค้ง สังเกตได้โดยมองจากด้านหน้ารถ ดังนี้

  • ล้อตั้งตรง: มุมแคมเบอร์ = 0

  • ด้านล่างหุบเข้า ด้านบนถ่างออก: มุมแคมเบอร์เป็นบวก (+)

  • ด้านล่างถ่างออก ด้านบนหุบเข้า: มุมแคมเบอร์เป็นลบ (-)

โดยทั่วไปจะตั้งค่าให้ติดลบเล็กน้อยเพื่อการเข้าโค้งที่ดีขึ้น แต่หากมากเกินไปอาจทำให้ยางสึกด้านใน และควบคุมรถตรงยาก ดัังนั้น รถยนต์นั่งส่วนใหญ่มักมีมุมแคมเบอร์เป็นลบเล็กน้อยตั้งแต่ออกจากโรงงาน

มุมโท (Toe) 

มุมโท (Toe) เป็นมุมที่ส่งผลต่อความตรง และความนิ่งในการวิ่งของรถ โดยสามารถสังเกตได้ง่ายๆ ดังนี้

  • ถ้าล้อขนานกับตัวรถ: มุมโทมีค่าเป็น 0

  • ถ้าล้อด้านหน้าหุบเข้า: เรียกว่า Toe-In มีค่าเป็นลบ (+)

  • ถ้าล้อด้านหน้าถ่างออก: เรียกว่า Toe-Out มีค่าเป็นบวก (-)

ในการตั้งค่าสำหรับการขับขี่ทั่วไป นิยมปรับให้มีค่า Toe-in เล็กน้อย เพื่อให้ล้อหน้าจิกถนนและช่วยให้รถวิ่งได้ตรง

มุมแคสเตอร์ (Caster)

มุมแคสเตอร์ (Caster) เป็นมุมที่กำหนดตำแหน่งของล้อ มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของพวงมาลัยขณะเข้าโค้ง เมื่อมองรถจากด้านข้าง มุมแคสเตอร์บวกจะทำให้แกนพวงมาลัยเอียงเข้าหาผู้ขับ ในขณะที่มุมลบทำให้แกนเอียงไปทางด้านหน้ารถ โดยทั่วไปมุมแคสเตอร์เป็นค่าคงที่ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้

ดังนั้น ทั้ง 3 มุมของยางรถยนต์นี้ควรมีการตั้งศูนย์ล้อกับทีมงานมืออาชีพเท่านั้น แนะนำผู้ให้บริการด้านรถยนต์ของ Autobacs ออโต้แบคส์ ศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร มาตรฐานจากญี่ปุ่น รับอะไหล่แท้จากโรงงานผลิตของต่างประเทศโดยตรง และมีการรับประกันรับรองสินค้าทุกชิ้น พร้อมบริการดูแลลูกค้าหลังการขายอย่างต่อเนื่อง ครบทุกด้านเรื่องยางรถยนต์ และอะไหล่กับการซ่อมแซมรถยนต์ทุกด้านในที่นี่ที่เดียว

หากไม่แก้ไขยางกินขอบในและนอกจะเกิดอะไรขึ้น

หากผู้ใช้รถเจอปัญหายางกินขอบในและนอก แล้วไม่ดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมปัญหายางกินทั้งขอบในและนอก หรือไม่แก้ปัญหาของรถกินยางด้านนอกล้อหน้า รวมถึงการแก้รถกินยางด้านในล้อหลัง เมื่อมีปัญหาเรื่องการเสื่อมสภาพและการสึกหรอเกิดขึ้นนั้น จะทำให้รถยนต์เกิดอุบัติเหตุ เสียหลักพลิกคว่ำเนื่องจากเนื้อยางหมดลงไปจากการกินของขอบยางที่เสื่อมสภาพไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้น การวางแผนรับมือแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ และหมั่นเข้ารับการดูแลรักษาสภาพรถยนต์ ตรวจสอบความพร้อมของยางรถทุกครั้งก่อนออกเดินทาง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเพราะอุบัติเหตุไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ตัวเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ อีกมากมาย เป็นความเสียหายในวงกว้างอีกด้วย

สรุป

ปัญหายางกินขอบในและนอกทั้งยางหน้าและยางหลัง มีสาเหตุเกิดจากการเสื่อมสภาพของตัวยางไม่เท่ากัน แรงกระจายน้ำหนักการกระแทก ความเสียหายตลอดระยะเวลาในการขับรถ ดังนั้น จึงต้องตรวจสอบความพร้อม และการแก้ไขปัญหาความเสื่อมสภาพของตัวยาง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุใหญ่ในอนาคต จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำ เริ่มจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการหมั่นตรวจเช็กลมยางให้มีมาตรฐานอัตราแรงลมที่เหมาะสมกับประเภทรถ ไปจนถึงการนำรถไปเข้าศูนย์ดูแลรถยนต์มืออาชีพอย่าง Autobacs เพื่อปรับศูนย์ล้อใหม่ และตรวจเช็กปัญหาอื่นๆ ที่คุณอาจจะไม่ได้สังเกตมาก่อนหน้านี้นั่นเอง

autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autobacsสาระน่ารู้อื่นๆ

E-mail

Call Center

autobacs-contact

LINE Official

autobacs-line

Messenger

autobacs-messenger
to-top