Picture of the author
autobacsautobacs
autobacs

เพลารถยนต์คืออะไร มีหน้าที่สำคัญอย่างไร


Post Date: 30 Jul 2024

Share to

เพลารถยนต์คืออะไร มีหน้าที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนรถยนต์อย่างไร

เพลารถเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ช่วยในการขับเคลื่อนของรถยนต์ หากเกิดปัญหาก็อาจทำให้รถเคลื่อนที่ไม่ได้ ไปดูว่าเพลารถยนต์มีหน้าที่อะไร หากมีปัญหาจะเกิดผลเสียอย่างไร

ทำความรู้จัก เพลารถ คืออะไร

เพลารถยนต์ คือ ชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ โดยเพลาขับจะทำหน้าที่ส่งกำลังในการขับเคลื่อนรถยนต์ของล้อคู่หน้า โดยเพลารถยนต์จะหมุนล้อให้เคลื่อนไหว ทั้งการทำให้รถเคลื่อนตัวไปข้างหรือรถถอยหลังกลับ และเพลารถยนต์ยังมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถยืด-หดตัวตามจังหวะ การขึ้น-ลง หรือการเลี้ยวของล้อรถยนต์ได้อีกด้วย

เพลารถติดตั้งอยู่บริเวณไหนของรถยนต์

การติดตั้งของเพลารถยนต์ คือ เป็นชิ้นส่วนที่ติดตั้งต่อจากห้องเกียร์ของเครื่องยนต์ ไปยังดุมล้อคู่หน้าของรถยนต์ทุกคันเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน โดยเพลาขับล้อหน้าจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ ดังนี้

  • ก้านเพลา มีลักษณะเป็นท่อแป๊บ และแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบตันและแบบกลวง

  • หัวเพลาขับนอก เป็นหัวเพลาที่ติดกับดุมล้อรถยนต์ และภายในประกอบด้วยลูกปืน 6 ลูก

  • หัวเพลาขับใน คือ ชิ้นส่วนที่ติดกับห้องเกียร์ของเครื่องยนต์ และภายในประกอบด้วยลูกปืน 6 ลูก หรือ 3 ลูก

  • จาระบีแบบทนความร้อนสูง จะใส่ทั้ง 2 หัวเพลา ทั้งด้านนอกและด้านใน เพื่อให้หัวเพลาหล่อลื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ยางหุ้มเพลา ช่วยป้องกันจาระบีไม่ให้หลุดออกจากหัวเพลา และช่วยป้องกันสิ่งสกปรก ฝุ่นละอองต่างๆ ไม่ให้เข้าไปในหัวเพลา

  • เหล็กรัดยางหุ้มเพลา คือ เหล็กรัดยางที่หุ้มเพลาให้ติดกับหัวเพลา

  • ยางกันสะเทือน เป็นชิ้นส่วนที่ช่วยลดการสั่นสะเทือนของเพลาขับ

หลักการทำงานของเพลารถ

หลักการทำงานของเพลารถยนต์ คือ เพลาขับทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งกำลังขับเคลื่อนจากห้องเกียร์ของรถยนต์ไปสู่ล้อคู่หน้าของรถยนต์ทุกคัน เพื่อหมุนล้อให้เคลื่อนไหว ให้รถยนต์เคลื่อนตัวไปข้างหรือรถถอยหลังกลับ

เพลารถมีความสำคัญอย่างไร

เพลารถยนต์เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการส่งกำลังการขับเคลื่อนของรถยนต์ ที่นอกจากช่วยให้รถเคลื่อนที่ทั้งเดินหน้าและถอยหลังแล้ว เพลารถยนต์ก็ยังมีความสำคัญต่อการควบคุมมุมเลี้ยว องศาการเลี้ยว และการเข้าโค้งให้ล้อมีความสมดุลกัน รวมถึงความสำคัญในการยืด-หด การขึ้น-ลง ตามจังหวะของล้อรถยนต์ขณะขึ้นหรือลงสะพาน

เพลารถเสีย อาการเป็นอย่างไร

หากเพลาขับรถยนต์ชำรุดหรือเสียหายหนัก ก็จะทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนช้าลงกว่าเดิม จนไม่สามารถขับเคลื่อนรถยนต์ได้ในที่สุด และหากปล่อยไว้นานๆ เพลาขับรถยนต์ที่ชำรุดหรือเสียหาย ก็อาจทำให้ผู้ัขับขี่รถยนต์เสียการควบคุมรถและทำให้รถเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น หากเป็นคุณเป็นผู้ใช้รถเป็นประจำ ก็ควรหมั่นสังเกตอาการของเพลาขับรถยนต์อยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติหตุโดยไม่คาดคิด โดยมีวิธีสังเกตอาการของเพลาขับรถยนต์เสีย ดังนี้

  • มีเสียงดังผิดปกติจากใต้ท้องรถ เพลาขับล้อหน้า หรือเสียงดังผิดปกติจากล้อขณะขับขี่

  • เครื่องยนต์ด้านล่างมีอาการสั่นผิดปกติขณะเร่งความเร็ว

  • เครื่องยนต์ด้านล่างมีเสียงดังขณะที่กำลังเร่งความเร็ว การบรรทุกของหนัก หรือการเหยียบเบรก

  • มีเสียงดังคล้ายโลหะหรือเหล็กกระทบกันดังแก๊กๆ อยู่ที่ล้อคู่หน้า

  • มีสัญญาณไฟเตือนเครื่องยนต์โชว์บนแผงหน้าปัดขณะขับขี่

  • รถยนต์วิ่งไม่ราบเรียบ อาจะเอียงซ้าย เอียงขวา จนทำให้เสียการทรงตัวและเสียการควบคุมรถขณะขับขี่บนท้องถนน

  • น้ำมันเพลาท้ายรั่วซึมและเพลาท้ายมีอาการสั่น

เพลารถเสีย เกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้เพลารถยนต์เสียหาย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งพฤติกรรมการขับขี่ที่ผิดวิธี การขับรถอย่างไม่ระมัดระวัง การบรรทุกของที่หนักเกินไป จนทำให้เพลารถยนต์เกิดความเสียหายไวกว่าเดิม นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เพลารถเสียหายด้วย ซึ่งจะมีสาเหตุอะไรบ้าง มาดูกัน

เพลาหมดอายุการใช้งาน

สาเหตุแรกที่ทำให้เพลารถยนต์เสียหาย ก็คือ เพลาหมดอายุการใช้งาน โดยเพลารถที่หมดอายุการใช้งาน จะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงในขณะขับขี่จากการเกิดการเสียดสีของชิ้นส่วนต่างๆ ทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ เกิดความเสียหายได้ ทำให้การใช้งานรถยนต์ ผู้ใช้รถจึงควรหมั่นตรวจสอบอายุการใช้งาน ของเพลารถยนต์อยู่เสมอ ว่าใช้งานนานมานานเท่าไหร่ เพลารถยนต์ใกล้หมดอายุหรือไม่ และถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนเพลารถยนต์ได้หรือยัง หากพบว่า ถึงเวลาที่ควรเปลี่ยน ก็ควรรีบนำไปเปลี่ยนโดยทันที เพราะหากปล่อยไว้นานๆ เพลาขับที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็จะทำให้รถยนต์เกิดความเสียหายและทำให้ผู้ขับขี่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

ขับรถแบบผิดวิธี

สาเหตุต่อมาที่ทำให้เพลารถยนต์เสียหาย คือ พฤติกรรมการขับรถแบบผิดวิธี เช่น ในขณะที่ล้อยังไม่ตั้งตรง แต่ผู้ขับขี่ออกรถด้วยความเร็วหรือออกรถแบบกระชาก การหักพวงมาเลี้ยวสุดทั้งซ้ายและขวา เหยียบคันเร่งบ่อยๆ เพื่อทำความเร็วหรือเร่งแซง การเหยียบเบรกกะทันหัน และการขับรถบนทางลูกรัง ผิวถนนขรุขระด้วยความเร็ว ซึ่งหากไม่อยากให้เพลารถยนต์ชำรุดหรือเสียหายเร็วกว่ากำหนด ผู้ขับขี่ก็ควรขับรถให้ถูกวิธี ทั้งการตั้งล้อรถให้ตรงก่อนออกตัว ค่อยๆ หมุนพวงมาลัยตามจังหวะการเลี้ยวหรือการโค้ง ไม่เหยียบคันเร่งบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการเหยียบเบรกกะทันหัน และหลีกเลี่ยงการขับด้วยความเร็วบนผิวถนนขรุขระ

ยางหุ้มเพลาขาด

สาเหตุสุดท้ายที่ทำให้เพลาขับเสื่อมสภาพหรือหมดอายุการใช้งาน เกิดจากการที่เพลาขับรถยนต์ชำรุดหรือเสียหาย เช่น ยางหุ้มเพลามีรอยแตก รอยร้าว หรือยางหุ้มเพลาขาด จนทำให้จาระบีหลุดออกจากหัวเพลา จนเป็นสาเหตุให้ฝุ่น สะเก็ดหิน กรวด เม็ดทราย สิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปเสียดสีกับชิ้นส่วนในหัวเพลาและลูกปืน ทำให้หัวเพลาเกิดความเสียหาย โดยหากพบว่า หัวเพลารถยนต์มีรอยแตก รอยขาด ก็ควรรีบนำรถเข้าศูนย์เพื่อเปลี่ยนหัวเพลาโดยทันที เพราะหากปล่อยไว้นานๆ ก็จะทำให้รถยนต์เกิดความเสียหาย และอาจเกิดอุบัติเหตุขณะขับขี่บนท้องถนนได้เช่นกัน

เพลารถเสีย อันตรายหรือไม่?

หากมีคำถามว่า ยางหุ้มเพลาขาดจะเป็นอันตรายต่อการขับขี่ไหม ก็ตอบได้เลยว่า ยางหุ้มเพลาขาด ย่อมเกิดอันตรายต่อตัวรถยนต์อย่างแน่นอน เพราะเพลาขับของรถยนต์เป็นอุปกรณ์สำคัญ ที่ทำให้รถยนต์ของคุณสามารถขับเคลื่อนได้ พร้อมทั้งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยรองรับน้ำหนักการหักเลี้ยว และรองรับการยืด-หด หรือการขึ้น-ลงของล้อรถยนต์ จึงทำให้เพลาขับของรถยนต์ต้องรับน้ำหนักในการขับขี่มากเป็นพิเศษ หากเพลาขับเสีย จะทำให้รถไม่สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ หรือหากขับรถบนท้องถนน เพลาขับที่เสียหายก็จะทำให้คุณไม่สามารถควบคุมรถได้ จนกลายเป็นเกิดอุบัติบนท้องถนน และที่สำคัญที่สุด เมื่อเพลารถเสียหายหนัก ก็จะทำให้รถยนต์เกิดความร้อนสูงเกินไป จนทำให้รถยนต์ของคุณเกิดไฟไหม้ได้

วิธีตรวจเช็กเพลารถ พร้อมการดูแลรักษา

เรียกได้ว่า  เพลาขับของรถยนต์ เป็นชิ้นส่วนสำคัญสำหรับรถยนต์ หากเลือกเพลาขับรถยนต์ที่ดี มีคุณภาพ เลือกเพลาที่เหมาะสมกับการใช้งาน จนถึงมีการตรวจเช็ก ดูแลรักษา และซ่อมบำรุงอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้รถยนต์ของคุณขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีวิธีเช็กเพลา พร้อมวิธีดูแลรักษา ดังนี้

  1. หมั่นตรวจเช็กช่วงล่างรถยนต์เป็นประจำ เช็กสภาพรถช่วงล่างตั้งแต่ เพลาขับ ยางหุ้มเพลา และเหล็กรัดยางหุ้มเพลา หากพบว่า มีรอยแตก รอยฉีกขาด หรือมีจาระบีรั่วซึม ก็ต้องเปลี่ยนยางหุ้มเพลาและเหล็กรัดยางหุ้มเพลาโดยทันที รวมถึงหากขณะขับขี่ แล้วเครื่องยนต์สะดุด หรือกระตุก ก็ควรนำรถเข้าตรวจเช็กที่ศูนย์โดยไวที่สุด

  2. หลีกเลี่ยงการออกตัวรถอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เพราะการที่รถออกตัวแรง จะทำให้เครื่องยนต์เกิดการกระชาก และทำให้หัวเพลาขับเสียหายได้ ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงควรออกรถอย่างนุ่มนวลเพื่อถนอมการทำงานของเพลาขับ

  3. หลีกเลี่ยงการเบรกกะทันหัน เพราะจะทำให้หัวเพลาขับมีแรงฉุดมากเกินไป จนทำให้เพลาขับสึกหรอได้ง่าย โดยการดูแลรักษาเพลาขับรถยนต์ คือ ควรชะลอความเร็วของรถ จึงค่อยเหยียบเบรกอย่างช้าๆ จนรถหยุดนิ่ง

  4. หลีกเลี่ยงการหมุนพวงมาลัยเลี้ยวจนสุดแล้วออกตัวแรง ซึ่งจะส่งผลให้หัวเพลาขับตัวนอก รับกำลังจากเครื่องยนต์ เพื่อต้านแรงเสียดทานขณะหมุนพวงมาลัยมากเกินไป โดยวิธีดูแลรักษาเพลาขับ นั่นคือ หากผู้ขับขี่ต้องเจอกับการเข้าโค้งหรือต้องเลี้ยวบ่อยๆ ก็ควรหักพวงมาลัยด้วยวงเลี้ยงกว้างจนรถเคลื่อนออก แล้วค่อยหักพวงมาลัยเป็นวงเลี้ยวแคบแต่พอดี

สรุป

เห็นได้ว่า เพลาขับของรถยนต์ เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบการขับเคลื่อนล้อหน้าของรถยนต์ โดยเพลาขับมักจะติดตั้งต่อจากห้องเกียร์เครื่องยนต์ไปยังดุมล้อรถยนต์ และเพลาขับมีหน้าที่ คือ ช่วยให้รถยนต์เคลื่อนไหว ทั้งเดินหน้าและถอยหลัง ช่วยควบคุมองศาของล้อระหว่างการเลี้ยว การเข้าโค้งต่างๆ ดังนั้น การขับขี่รถยนต์บนท้องถนน ผู้ขับขี่ก็ควรต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรขับรถแบบผิดวิธี ทั้งการออกตัวแรง การเหยียบเบรกกะทันหัน หรือการหักพวงมาลัยแบบสุด ที่อาจทำให้เพลาขับเสียหาย ที่สำคัญที่สุด ผู้ขับขี่ควรหมั่นตรวจเช็กรถเป็นประจำด้วยว่า ช่วงล่างของเพลาขับมีตรงไหนที่เสียหายหรือไม่ ถ้าหากพบว่า ยางหุ้มเพลาขับเสียหาย หรือจาระบีรั่วซึม ก็ต้องรับนำรถเข้าศูนย์บริการใกล้บ้านทันที

autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autiobacs-photos
autobacsOTHER BLOGS

E-mail

Call Center

autobacs-contact

LINE Official

autobacs-line

Messenger

autobacs-messenger
to-top